บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2020

น้ำสมุนไพรดีต่อสุขภาพ

รูปภาพ
น้ำมะตูม (Bael Fruit Drink) น้ำสมุนไพรไทยที่มีสีส้ม สดใส บางโรงแรมนำน้ำมะตูมมาใช้เป็นเครื่องดื่มในการต้อนรับแขก เพราะการดื่มน้ำมะตูมเย็นๆหนึ่งแก้ว สามารถทำให้คุณรู้สึกสดชื่นขึ้นมาได้โดยทันที นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการท้องร่วง ลดน้ำตาลในเลือด  และที่สำคัญช่วยให้จิตใจสงบ เหตุผลนี้เองที่ทำให้ชาวพุทธ นิยมนำน้ำมะตูมมาถวายเป็นน้ำปานะแด่พระสงฆ์ น้ำใบเตย (Pandan Drink) ถ้าถามว่า “ใบอะไร มีกลิ่นหอม สีเขียว คนไทยชอบนำมาทำขนมหวาน” ทุกคนคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ใบเตย” นอกจากใบเตยจะนิยมนำมาใช้ในการทำขนมแล้ว “น้ำใบเตย” ยังเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมที่ช่วยเพิ่มพลังงาน ลดอาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ และลดความดันโลหิตอีกด้วย น้ำกระเจี๊ยบ (Roselle Drink) ใครรู้บ้างว่า ต้นกระเจี๊ยบแดง ที่มีดอกสีน้ำตาลแดง ใบห้าแฉก จะอุดมไปด้วยวิตามินซี นอกจากนี้ น้ำกระเจี๊ยบยังช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และช่วยลดอาการร้อนใน ทำให้แผลในช่องปากหายเร็วขึ้น กระเจี๊ยบแดงยังเป็นที่รู้จักในนามสมุนไพรไทยที่ช่วยลดอาการไอ และแก้อาการท้องผูก ข้อควรระวัง! ถ้าดื่มน้ำกระเจี๊ยบมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียต...

การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร

รูปภาพ
    หลักการทั่วไปของการปลูกและบำรุงรักษาพืชทั่วไปและพืชสมุนไพร ไม่แตกต่างกัน แต่ความอุดมสมบูรณ์ของพืชสมุนไพร จะเป็นเครื่องชี้บอกคุณภาพของสมุนไพรได้ พืชสมุนไพรต้องการการปลูกและบำรุงรักษาใกล้เคียงกับลักษณะธรราชาติของพืชสมุนไพรนั้นมากที่สุด เช่น ว่านหางจระเข้ ต้องการดินปนทราย และอุดมสมบูรณ์ แดดพอเหมาะ หรือต้นเหงือกปลาหมอชอบขึ้นในที่ดินเป็นเลน และที่ดินกร่อยชุ่มชื้นเป็นต้น หากผู้ปลูกสมุนไพรเข้าใจสิ่งเหล่านี้จะทำให้สามารถเลือกวิธีปลูกและจัดสภาพแวดล้อมของต้นไม้ได้เหมาะกับพืชสมุนไพร ก็จะเจริญเติบโตได้ เป็นผลทำให้คุณภาพพืชสมุนไพรที่นำมารักษาโรคมีฤทธิ์ดีขึ้นด้วย            การปลูกและการบำรุงรักษาพืชสมุนไพร โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ไม่จริงจังเท่าที่ควร บางประเทศได้ทดลองเพื่อหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมอย่างไรจึงจะทำให้สาระสำคัญในพืชสมุนไพรชนิดนั้นๆ มากที่สุด ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือมากกว่าหนึ่งหน่วยงาน หรือการหาคำตอบว่าวิธีการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรแต่ละชนิด จะทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมและประหยัดมากที่สุด ในประเทศไทย หน่วยงานของกระทรวงเกษตร...

สมุนไพรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

รูปภาพ
  พริกขี้หนู ลักษณะทั่วไป   พริกขี้หนูเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ใบมีขนาดเล็ก ปลายใบแหลมดอกสีขาว ผลกลมยาว วิธีใช้   นำพริกขี้หนูแห้งบด ๑ ส่วน ผสมขี้ผึ้ง วาสลินที่ละลายแล้ว ๕  ส่วน จะได้ขี้ผึ้งขันเหมาะใช้ทาแก้เคล็ด ขัดยอก บวม ฟกช้ำดำเขียวผลกินสด ช่วยขับลม กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร เจริญอาหารแก้อาเจียน บิด ปวดบวมเนื่องจากเย็นจัด รักษาผิวหนัง เช่น หิด กลาก คนที่เป็นโรคตา หรือคอแห้งไม่ควรใช้ ประโยชน์ทางสมุนไพร  ผล มีสารแคบไซซิน  สรรพคุณ  ช่วยลดอาการอักเสบ  กระเทียม ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวใต้ดิน มีรสเผ็ดร้อน   ขนาดและวิธีใช้  - สำหรับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้กระเทียม ๕ - ๑๐ กลีบ รับประทานหลังอาหาร หรือพร้อมอาหาร  - สำหรับรักษากลากเกลื้อน ฝานกระเทียมถูบ่อย ๆ บริเวณที่เป็นหรือตำแล้วขยี้ทาบริเวณที่เป็น ก่อนจะทายาใช้ไม้บางๆ เล็กๆ ที่ได้ฆ่าเชื้อโรคแล้ว (โดยการแช่ในแอลกอฮอล์ ๗๐% หรือต้มในน้ำเดือด ๑๐ - ๑๕ นาที) ขูดบริเวณที่เป็น ให้ผิวหนังแดง ๆ  สรรพคุณ  - ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด การที่กระเ...

สมุนไพรไทยรักษาโรค

รูปภาพ
      ว่านหางจระเข้             ไม้ล้มลุกใบใหญ่หนาที่ทุกคนรู้จักกันดี แม้ถิ่นกำเนิดจะอยู่ไกลถึงฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกา แต่ในประเทศไทยก็มีการปลูกว่านหางจระเข้อย่างแพร่หลาย ซึ่งในตำรับยาไทยก็ใช้ว่านหางจระเข้บำบัดอาการต่าง ๆ ได้มากมาย จนเป็นที่รู้จักว่า เป็นพืชอัศจรรย์ที่มีสรรพคุณสารพัดประโยชน์           โดย  "วุ้นในใบสด"  สามารถนำมาบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ แต่สรรพคุณเด่น ๆ ที่ทุกคนน่าจะรู้จักก็คือ นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง รักษาผิวที่ถูกแดดเผา แผลในกระเพาะอาหาร และช่วยถอนพิษได้ เพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยสมานแผล แต่มีข้อแนะนำว่า ก่อนใช้ควรทดสอบดูก่อนว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้ นอกจากส่วนวุ้นในใบสดแล้ว ส่วน  "ยางในใบ"  ก็สามารถนำมาทำเป็นยาระบายได้ และส่วน  "เหง้า"  ก็นำไปต้มน้ำรับประทาน แก้โรคหนองในได้ด้วย   ขมิ้นชัน        ...

ประโยชน์ของสมุนไพร

รูปภาพ
ประโยชน์ของสมุนไพร สมุนไพรที่ปรุงเป็นยา จะมีตัวยาอยู่หลายตัวทั้งยังเป็นสารอาหารสำหรับร่างกาย ทำให้ทั้งเป็นทั้งยารักษาร่างกายและยาบำรุงอีกด้วย แต่ยาแผนปัจจุบันเน้นที่ตัวยาเพียงชนิดเดียว ทำให้ออกฤทธิ์แรง ส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในของร่างกาย สมุนไพรที่เป็นสารเคมีจากธรรมชาติ กินแล้วไม่สะสมในอวัยวะภายใน ร่างกายนำสารต่างๆไปใช้ประโยชน์ได้หมด และมีกากพืชที่ช่วยทำความสะอาดกะเพาะและสำไส้ ในขณะที่ยาแผนปัจจุบันเมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดการสะสมที่อวัยวะภายใน ส่งผบเสียต่อร่างกาย ถ้ากินไม่เป็นเวลาก็ทำลายกะเพาะและลำไส้อีด้วย อาการแพ้สมุนไพรจะไม่รุนแรงเท่ายาแผนปั  ประโยชน์ของสมุนไพร  จจุบัน เนื่องจากยาแผนปัจจุบันเน้นที่ตัวยาเพียงชนิดเดียวและได้ผลรวดเร็ว ออกฤทธิ์แรงมาก ทำให้บางครั้งการรัษาไม่ได้ผลเนื่องจากยาแรงทำให้สุขภาพของผู้ป่วยแย่ลงไปด้วย สมุนไพรเป็นทั้งยารักษาและยาบำรุง เพราะประกอบด้วยสารอาหารจากธรรมชาติหลายอย่างมาก และไม่เข้มข้นเกินไป แต่ยาแผนปัจจุบันเมื่อใช้ไปนานๆ จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมากและอาจทำให้อวัยวะภายในเสื่อมลงอีกด้วย “ลางเนื้อชองลางยา” ยาสมุนไพรสามารถปรุงได้หลากหลายวิธีและส่วนประกอบ...

วิธีเก็บพืชสมุนไพร

  การเก็บ  " พืชสมุนไพร "  ให้ได้คุณค่าทางยามากที่สุดไม่เสียหาย  สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเห็นจะได้แก่  ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บพืชสมุนไพรเอามาเป็นยา  นี่เอง การเก็บส่วนของพืชสมุนไพรเอามาทำเป็นยานั้น ถ้าเก็บในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสมก็มีผลต่อการออกฤทธิ์ ในการรักษาโรคของยาสมุนไพรได้ 1. ประเภทรากหรือหัว สมควรเก็บในช่วงเวลาที่พืชหยุดการเจริญเติบโต  ใบ  ดอก  ร่วงหมดแล้ว หรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน  เพราเหตุว่าในช่วงนี้รากและหัวมีการสะสมปริมาณตัวยาเอาไว้ค่อนข้างสูง  วิธีการเก็บจะต้องใช้วิธีขุดด้วยความระมัดระวังให้มาก  อย่าให้รากหรือหัวเกิดการเสียหายแตกช้ำ หัก ขาด ขึ้นมาได้ 2. ประเภทใบ หรือเก็บทั้งต้น ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด หรือพืชบางอย่างอาจจะระบุช่วงเวลาเก็บอย่างชัดเจน เช่น เก็บใบไม่อ่อนหรือไม่แก่เกินไป (ใบเพสลาด) เก็บช่วงดอกตูมเริ่มบาน หรือช่วงเวลาที่ดอกบาน  เป็นต้น การกำหนดช่วงเวลาที่เก็บใบ เพราะช่วงเวลานั้น  ในใบมีตัวยามากที่สุด  วิธีการเก็บก็ใช้วิธีเด็ด  3. ประเภทเปลือกต้นและเปลือกราก เปล...

การเตรียมยาสมุนไพร

  ยาต้ม " ยาต้ม " นั้น นับว่าเป็นการเตรียมยาจากพืชสมุนไพรที่มีมาช้านานแล้วเป็นการเอาน้ำมาเป็นตัวละลายตัวยาที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร ข้อดีของ " ยาต้ม " ก็ได้แก่ ออกฤทธิ์เร็ว  ดูดซึมได้ง่าย  การเตรียมก็ทำได้ง่ายดายและสะดวกมาก แต่ก็มีข้อเสีย  ได้แก่รสชาตินั่นเอง  รวมทั้งกลิ่นของยาอีกด้วย  บางทีก็อาจจะดื่มกินได้ลำบากเพราะมีรสไม่ชวนดื่มสำหรับผู้ที่กินยายาก อีกอย่างหนึ่ง " ยาต้ม "ทั้งหลายก็เก็บเอาไว้ไม่ได้นาน  มิหนำช้ำยังขึ้นราได้ง่ายอีกด้วย หากต้องการเก็บเอาไว้นานก็จะต้องใช้สารกันบูดผสมลงไปก็ได้ วิธีการเตรียม " ยาต้ม " 1. น้ำและภาชนะที่ใช้ต้มยา น้ำที่ใช้ในการต้มยานี้จะต้องเป็นน้ำที่ใสบริสูทธิ์  ไม่มีสี  ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ปริมาณของน้ำที่ใช้ในการต้มยาจะต้องขึ้นอยู่กับปริมาณของยา  โดยปกติก็จะใส่น้ำให้พอท่วมตัวยาที่มีอยู่ ภาชนะที่ใช้ในการต้มยา นั้นควรเป็นภาชนะดินเผาหรือหม้อเคลือบก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน  ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เช่น เหล็ก เพราะจะทำให้สาร " แทนนิน " ที่มักพบในพืชสมุนไพรทำปฏิกิริยากับโลหะได้  ซึ่งจะมีผลต่อฤทธิ์ของยาได้ 2. การเ...

ลักษณะของพืชสมุนไพร

  " พืชสมุนไพร "  โดยทั่วไปนั้น  แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัยด้วยกัน  คือ 1. ราก 2. ลำต้น 3. ใบ 4. ดอก 5. ผล " พืชสมุนไพร "  เหล่านี้มีลักษณะลำต้น  ยอด  ใบ  ดอก  ที่แตกต่างกัน  ไปตามสายพันธุ์ แต่ส่วนต่างๆ  ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน  เช่น  รากก็ทำหน้าที่ดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้น  กิ่งก้านและใบกับส่วนต่างๆ  นั่นเอง ใบก็ทำหน้าที่ปรุงอาหาร  ดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา  ดอก  ผล  เมล็ด  ก็ทำหน้าที่สืบพันธุ์กันต่อไป  เพื่อทำให้พืชพันธุ์นี้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ  ไม่มีที่สิ้นสุด 1. ราก รากของพืชโดยทั่วไปคือ ส่วนที่งอกออกไปจากลำต้นยื่นลงไปในพื้นดิน  ไม่มีการแบ่งข้อและแบ่งปล้อง  ส่วนนี้จะไม่มีใบ  ตาและดอกเลย หน้าที่ของรากก็คือ  สะสมและดูดซึมอาหารมาทำการบำรุงเลี้ยงลำต้น  และส่วนอื่นๆ  รวมทั้งเป็นส่วนที่ยึดค้ำจุนลำต้นพืชนั้นๆ  อีกด้วย รากของพืชมากมายหลายชนิดเอามาใช้เป็นยาสมินไพรได้อย่างดี  เช่น  ข่า  กระชาย  ขิง  ขมิ้นชัน  ขมิ้น...