ประโยชน์ของสมุนไพร

ประโยชน์ของสมุนไพร

  1. สมุนไพรที่ปรุงเป็นยา จะมีตัวยาอยู่หลายตัวทั้งยังเป็นสารอาหารสำหรับร่างกาย ทำให้ทั้งเป็นทั้งยารักษาร่างกายและยาบำรุงอีกด้วย แต่ยาแผนปัจจุบันเน้นที่ตัวยาเพียงชนิดเดียว ทำให้ออกฤทธิ์แรง ส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในของร่างกาย
  2. สมุนไพรที่เป็นสารเคมีจากธรรมชาติ กินแล้วไม่สะสมในอวัยวะภายใน ร่างกายนำสารต่างๆไปใช้ประโยชน์ได้หมด และมีกากพืชที่ช่วยทำความสะอาดกะเพาะและสำไส้ ในขณะที่ยาแผนปัจจุบันเมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดการสะสมที่อวัยวะภายใน ส่งผบเสียต่อร่างกาย ถ้ากินไม่เป็นเวลาก็ทำลายกะเพาะและลำไส้อีด้วย
  3. อาการแพ้สมุนไพรจะไม่รุนแรงเท่ายาแผนปั ประโยชน์ของสมุนไพร จจุบัน เนื่องจากยาแผนปัจจุบันเน้นที่ตัวยาเพียงชนิดเดียวและได้ผลรวดเร็ว ออกฤทธิ์แรงมาก ทำให้บางครั้งการรัษาไม่ได้ผลเนื่องจากยาแรงทำให้สุขภาพของผู้ป่วยแย่ลงไปด้วย
  4. สมุนไพรเป็นทั้งยารักษาและยาบำรุง เพราะประกอบด้วยสารอาหารจากธรรมชาติหลายอย่างมาก และไม่เข้มข้นเกินไป แต่ยาแผนปัจจุบันเมื่อใช้ไปนานๆ จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมากและอาจทำให้อวัยวะภายในเสื่อมลงอีกด้วย
  5. “ลางเนื้อชองลางยา” ยาสมุนไพรสามารถปรุงได้หลากหลายวิธีและส่วนประกอบ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ยาที่เหมาะกับคนแต่ละประเภท เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดและไม่เกิดอาการแพ้ในผู้ป่วย
  6. เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่นเครื่องเทศและใช้เป็นสารที่ใช้ในการถนอมอาหารได้ เช่น กระเทียม พริกไทย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย

การนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ทั่วไป

  1. ใสกัดน้ำช้มันหอมระเหย สมุนไพรในกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ในตัว สามารถนำมาสกัดโดยวิธี นำมากลั่น ซึ่งจะมีกลิ่นและปริมาณที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพร สมุนไพรที่น้ำมันหอมระเหยที่รู้จัก กันดี ได้แก่ ตะไคร้หอม น้ำมันตะไคร้หอมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ แชมพู น้ำหอม และสารไล่แมลง ไพล น้ำมันไพล ใช้ในผลิตภัณฑ์ครีมทาภายนอก ลดการอักเสบฟกช้ำ กระวาน น้ำมันกระวนนใช้แต่งกลิ่นเหล้า เครื่องดื่มต่าง ๆ และอุตสาหกรรมน้ำหอม พลู น้ำมันพลู ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ หรือเจลทาภายนอกแก้อาการคัน
  2. ใช้เป็นยารับประทาน มีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคต่าง ๆ เช่น แก้ไขเจ็บคอ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร แก้ท้องอึด ท้องเฟ้อ กระเพรา ไพล ขิง ระงับประสาท ขี้เหล็ก ไมยราพ ลดไขมันในเส้นเลือด คำฝอย กระเจี๊ยบแดง กระเทียม
  3. ใช้เป็นยาทาภายนอก เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำบัดโรคที่เกิดตามผิวหนัง รวมทั้งแผลที่เกิดในช่องปาก เช่น รักษาแผลในปาก บัวบก หว้า โทงเทง ระงับกลิ่นปาก ฝรั่ง กานพลู แก้แพ้ ผักบุ้งทะเล เสลดพังพอน ตำลึง เท้ายายม่อม รักษาแผลน้ำร้อนลวก บัวบก ยาสูบ ว่านหางจรเข้ งูสวัด ตำลึง พุดตาน ว่านมหากาฬ เสลดพังพอน
  4. ใช้ทำเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม เป็นเครื่องดื่มที่สกัดจากธรรมชาติที่ยังให้ประโยชน์ในการรักษาโรค ควบคู่ไปด้วย เช่น บุก ให้ประโยชน์ในการดูดจับไขมันจากเส้นเลือด ลดน้ำหนัก ส้มแขก ดูดไขมัน ลดน้ำหนัก หญ้าหนวดแมว ลดน้ำหนัก บำรุงสุขภาพ
  5. ใช้ทำเครื่องสำอางค์ มี สมุนไพรหลายชนิดในปัจจุบันที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ และได้รับความ นิยมอย่างดี เนื่องจากผู้ใช้มั่นใจว่าปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมี เช่น ว่านหางจรเข้ อัญชัน มะคำดีควาย โดยนำมา ใช้เป็นส่วนผสมของแชมพู ครีมนวดผม สบู โลชั่นบำรุงผิว
  6. ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช มัก เป็นสมุนไพรจำพวกที่มีฤทธิ์เบื่อเมา หรือมีรสขม ข้อดีคือไม่มีฤทธิ์ตกค้าง ที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สะเดา ยาสูบ ตะไคร้หอม ไพล เป็นต้น
  7. ใช้บริโภคเป็นอาหารและเครื่องเทศ สมุนไพร ในกลุ่มนี้จัดว่าเป็นพืชผักสมุนไพร นั่นเองสามารถนำมารับประทาน ให้คุณค่าทางอาหาร เพิ่มรสชาติ ดับกลิ่นคาว และยังช่วยย่อยอาหาร เช่น กระเพรา โหระพา แมงลัก ผักชี สะระแหน่ ขิง ข่า กระชาย บางชนิดเป็นพืชผักสมุนไพรเมืองหนาว เช่น พาร์สเร่ย์ หรือผักชีฝรั่ง เฟนเนล (ผักชีลาว) เปบเปอร์มิ้นท์ ออริกาโน่ ทีม ไชฟ์ ดิล มาร์เจอร์แรม เซจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชพุ่มเตี้ย ใช้ส่วนของใบมาทานสด หรือแก้ง เป็นเครื่องเทศ ชูรส เป็นต้น
  8. ปลอดภัย สมุนไพรส่วนมากมีฤทธิ์อ่อน ไม่เป็นพิษหรือมีอาการข้างเคียงมาก แตกต่างกับยาแผน ปัจจุบันที่บางครั้งจะมีฤทธิ์เฉียบพลันถ้าบริโภคเกินขนาดเพียงเล็กน้อยอาจ เสียชีวิตได้
  9. ประหยัด ราคาของสมุนไพรถูกกว่ายาแผนปัจจุบันมาก เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว จึง ควรอย่างยิ่งที่เราจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ทั้งยังช่วยกันลดดุลการค้าที่เสียบเปรียบต่างประเทศ เป็นการสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของชาติอีกด้วย
  10. เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกล คนไข้ที่อยู่ตามชนบท บางครั้งไม่สามารถมารับบริการจากสถานบริการทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้ควรใช้สมุนไพรที่เชื่อถือได้รักษาโรค
  11. ไม่ต้องกลัวปัญหาขาดแคลนยา ปัจจุบัน มียาหลายตัวที่ทำมาจากวัตถุเคมีที่ได้จากผลิตผลของน้ำมัน ซึ่งปัจจุบันน้ำมันก็เริ่มจะขาดแคลนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกกระทบกระเทือน รวมไปถึงการรักษาโรค เราจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับยาสมุนไพรและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น
  12. เป็นพืชเศรษฐกิจ ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรที่ใช้ในประเทศ และเพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง และต้องคำนึงถึงผลผลิตที่มีคุณภาพดีและต้นทุนต่ำสำหรับการส่งออกในรูปของ สารสกัด ทำให้ได้ราคาดีกว่าการส่งออกในรูปวัตถุดิบ

ความสำคัญของพืชสมุนไพร

  1. ความสำคัญในด้านสาธารณสุข พืชสมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เช่นในเอเชียก็มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้พืชสมุนไพรมากว่า 6,000 ปี แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีการเริ่มต้นนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) โดยมี กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ
    (1) สนับสนุนและพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีพื้นบ้านอันได้แก่ การแพทย์แผนไทย เภสัชกรรมแผนไทย การนวดไทย สมุนไพร และเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพของชุมชน
    (2) สนับสนุนและส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้ สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน การนวดไทย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบสามารถปรับประสานการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้ อาจกล่าวได้ว่าสมุนไพรสำหรับสาธารณสุขมูลฐานคือสมุนไพรที่ใช้ในการส่งเสริม สุขภาพ และการรักษาโรค/อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
  2. ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบันพืชสมุนไพรจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ต่างประเทศกำลังหาทางลง ทุนและคัดเลือกสมุนไพรไทยไปสกัดหาตัวยาเพื่อรักษาโรคบางโรคและมีหลายประเทศ ที่นำสมุนไพรไทยไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับประเทศไทย สมุนไพรหลายชนิดที่เราส่งออกเป็นรูปของวัตถุดิบคือ กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว เปล้าน้อยและมะขามเปียกเป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการอีกมาก และในปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสนใจในการศึกษาเพิ่มขึ้นและมีโครงการวิจัย บรรจุไว้ในแผนพัฒนาระบบการผลิต การตลาดและการสร้างงานในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) เพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาคุณภาพและแหล่งปลูกสมุนไพรเพื่อส่งออก โดยกำหนดชนิดของสมุนไพรที่มีศักยภาพ 13 ชนิด คือ มะขามแขก กานพลู เทียนเกล็ดหอย ดองดึง เร่ว กระวาน ชะเอมเทศ ขมิ้น จันทร์เทศ ใบพลู พริกไทย ดีปลี และน้ำผึ้ง

จะเห็นได้ว่าคนไทยรุ่นก่อนๆมีสุขภาพที่ดีแข็งแรงกว่า คนไทยในยุคปัจจุบันมากเพราะการรู้จักนำพืชสมุนไพรไทยที่อยู่รอบๆตัวมา ประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันกระแสรักธรรมชาติทำให้สมุนไพรไทยกำลังจะกลับมาเป็นสิ่งที่คนให้ความ สนใจและหันมาศึกษากันมากขึ้น ศักยภาพของสมุนไพรไทยยังมีอีกมากมายที่รอเพียงให้คนไทยหันมาช่วยกันส่งเสริม และใช้สมุนไพรไทยกันให้มากขึ้น ของดีมีคุณค่าอยู่ใกล้ตัวต้องรู้คุณค่าและช่วยกันรักษาไว้.





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สลด! วาฬเกยตื้นหาดออสเตรเลีย ดับอนาถ 380 ตัว ช่วยพาลงทะเลได้แค่ 50