บทความ

น้ำสมุนไพรดีต่อสุขภาพ

รูปภาพ
น้ำมะตูม (Bael Fruit Drink) น้ำสมุนไพรไทยที่มีสีส้ม สดใส บางโรงแรมนำน้ำมะตูมมาใช้เป็นเครื่องดื่มในการต้อนรับแขก เพราะการดื่มน้ำมะตูมเย็นๆหนึ่งแก้ว สามารถทำให้คุณรู้สึกสดชื่นขึ้นมาได้โดยทันที นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการท้องร่วง ลดน้ำตาลในเลือด  และที่สำคัญช่วยให้จิตใจสงบ เหตุผลนี้เองที่ทำให้ชาวพุทธ นิยมนำน้ำมะตูมมาถวายเป็นน้ำปานะแด่พระสงฆ์ น้ำใบเตย (Pandan Drink) ถ้าถามว่า “ใบอะไร มีกลิ่นหอม สีเขียว คนไทยชอบนำมาทำขนมหวาน” ทุกคนคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ใบเตย” นอกจากใบเตยจะนิยมนำมาใช้ในการทำขนมแล้ว “น้ำใบเตย” ยังเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมที่ช่วยเพิ่มพลังงาน ลดอาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ และลดความดันโลหิตอีกด้วย น้ำกระเจี๊ยบ (Roselle Drink) ใครรู้บ้างว่า ต้นกระเจี๊ยบแดง ที่มีดอกสีน้ำตาลแดง ใบห้าแฉก จะอุดมไปด้วยวิตามินซี นอกจากนี้ น้ำกระเจี๊ยบยังช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และช่วยลดอาการร้อนใน ทำให้แผลในช่องปากหายเร็วขึ้น กระเจี๊ยบแดงยังเป็นที่รู้จักในนามสมุนไพรไทยที่ช่วยลดอาการไอ และแก้อาการท้องผูก ข้อควรระวัง! ถ้าดื่มน้ำกระเจี๊ยบมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียต...

การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร

รูปภาพ
    หลักการทั่วไปของการปลูกและบำรุงรักษาพืชทั่วไปและพืชสมุนไพร ไม่แตกต่างกัน แต่ความอุดมสมบูรณ์ของพืชสมุนไพร จะเป็นเครื่องชี้บอกคุณภาพของสมุนไพรได้ พืชสมุนไพรต้องการการปลูกและบำรุงรักษาใกล้เคียงกับลักษณะธรราชาติของพืชสมุนไพรนั้นมากที่สุด เช่น ว่านหางจระเข้ ต้องการดินปนทราย และอุดมสมบูรณ์ แดดพอเหมาะ หรือต้นเหงือกปลาหมอชอบขึ้นในที่ดินเป็นเลน และที่ดินกร่อยชุ่มชื้นเป็นต้น หากผู้ปลูกสมุนไพรเข้าใจสิ่งเหล่านี้จะทำให้สามารถเลือกวิธีปลูกและจัดสภาพแวดล้อมของต้นไม้ได้เหมาะกับพืชสมุนไพร ก็จะเจริญเติบโตได้ เป็นผลทำให้คุณภาพพืชสมุนไพรที่นำมารักษาโรคมีฤทธิ์ดีขึ้นด้วย            การปลูกและการบำรุงรักษาพืชสมุนไพร โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ไม่จริงจังเท่าที่ควร บางประเทศได้ทดลองเพื่อหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมอย่างไรจึงจะทำให้สาระสำคัญในพืชสมุนไพรชนิดนั้นๆ มากที่สุด ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือมากกว่าหนึ่งหน่วยงาน หรือการหาคำตอบว่าวิธีการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรแต่ละชนิด จะทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมและประหยัดมากที่สุด ในประเทศไทย หน่วยงานของกระทรวงเกษตร...

สมุนไพรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

รูปภาพ
  พริกขี้หนู ลักษณะทั่วไป   พริกขี้หนูเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ใบมีขนาดเล็ก ปลายใบแหลมดอกสีขาว ผลกลมยาว วิธีใช้   นำพริกขี้หนูแห้งบด ๑ ส่วน ผสมขี้ผึ้ง วาสลินที่ละลายแล้ว ๕  ส่วน จะได้ขี้ผึ้งขันเหมาะใช้ทาแก้เคล็ด ขัดยอก บวม ฟกช้ำดำเขียวผลกินสด ช่วยขับลม กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร เจริญอาหารแก้อาเจียน บิด ปวดบวมเนื่องจากเย็นจัด รักษาผิวหนัง เช่น หิด กลาก คนที่เป็นโรคตา หรือคอแห้งไม่ควรใช้ ประโยชน์ทางสมุนไพร  ผล มีสารแคบไซซิน  สรรพคุณ  ช่วยลดอาการอักเสบ  กระเทียม ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวใต้ดิน มีรสเผ็ดร้อน   ขนาดและวิธีใช้  - สำหรับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้กระเทียม ๕ - ๑๐ กลีบ รับประทานหลังอาหาร หรือพร้อมอาหาร  - สำหรับรักษากลากเกลื้อน ฝานกระเทียมถูบ่อย ๆ บริเวณที่เป็นหรือตำแล้วขยี้ทาบริเวณที่เป็น ก่อนจะทายาใช้ไม้บางๆ เล็กๆ ที่ได้ฆ่าเชื้อโรคแล้ว (โดยการแช่ในแอลกอฮอล์ ๗๐% หรือต้มในน้ำเดือด ๑๐ - ๑๕ นาที) ขูดบริเวณที่เป็น ให้ผิวหนังแดง ๆ  สรรพคุณ  - ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด การที่กระเ...

สมุนไพรไทยรักษาโรค

รูปภาพ
      ว่านหางจระเข้             ไม้ล้มลุกใบใหญ่หนาที่ทุกคนรู้จักกันดี แม้ถิ่นกำเนิดจะอยู่ไกลถึงฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกา แต่ในประเทศไทยก็มีการปลูกว่านหางจระเข้อย่างแพร่หลาย ซึ่งในตำรับยาไทยก็ใช้ว่านหางจระเข้บำบัดอาการต่าง ๆ ได้มากมาย จนเป็นที่รู้จักว่า เป็นพืชอัศจรรย์ที่มีสรรพคุณสารพัดประโยชน์           โดย  "วุ้นในใบสด"  สามารถนำมาบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ แต่สรรพคุณเด่น ๆ ที่ทุกคนน่าจะรู้จักก็คือ นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง รักษาผิวที่ถูกแดดเผา แผลในกระเพาะอาหาร และช่วยถอนพิษได้ เพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยสมานแผล แต่มีข้อแนะนำว่า ก่อนใช้ควรทดสอบดูก่อนว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้ นอกจากส่วนวุ้นในใบสดแล้ว ส่วน  "ยางในใบ"  ก็สามารถนำมาทำเป็นยาระบายได้ และส่วน  "เหง้า"  ก็นำไปต้มน้ำรับประทาน แก้โรคหนองในได้ด้วย   ขมิ้นชัน        ...

ประโยชน์ของสมุนไพร

รูปภาพ
ประโยชน์ของสมุนไพร สมุนไพรที่ปรุงเป็นยา จะมีตัวยาอยู่หลายตัวทั้งยังเป็นสารอาหารสำหรับร่างกาย ทำให้ทั้งเป็นทั้งยารักษาร่างกายและยาบำรุงอีกด้วย แต่ยาแผนปัจจุบันเน้นที่ตัวยาเพียงชนิดเดียว ทำให้ออกฤทธิ์แรง ส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในของร่างกาย สมุนไพรที่เป็นสารเคมีจากธรรมชาติ กินแล้วไม่สะสมในอวัยวะภายใน ร่างกายนำสารต่างๆไปใช้ประโยชน์ได้หมด และมีกากพืชที่ช่วยทำความสะอาดกะเพาะและสำไส้ ในขณะที่ยาแผนปัจจุบันเมื่อใช้ไปนานๆ จะเกิดการสะสมที่อวัยวะภายใน ส่งผบเสียต่อร่างกาย ถ้ากินไม่เป็นเวลาก็ทำลายกะเพาะและลำไส้อีด้วย อาการแพ้สมุนไพรจะไม่รุนแรงเท่ายาแผนปั  ประโยชน์ของสมุนไพร  จจุบัน เนื่องจากยาแผนปัจจุบันเน้นที่ตัวยาเพียงชนิดเดียวและได้ผลรวดเร็ว ออกฤทธิ์แรงมาก ทำให้บางครั้งการรัษาไม่ได้ผลเนื่องจากยาแรงทำให้สุขภาพของผู้ป่วยแย่ลงไปด้วย สมุนไพรเป็นทั้งยารักษาและยาบำรุง เพราะประกอบด้วยสารอาหารจากธรรมชาติหลายอย่างมาก และไม่เข้มข้นเกินไป แต่ยาแผนปัจจุบันเมื่อใช้ไปนานๆ จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมากและอาจทำให้อวัยวะภายในเสื่อมลงอีกด้วย “ลางเนื้อชองลางยา” ยาสมุนไพรสามารถปรุงได้หลากหลายวิธีและส่วนประกอบ...

วิธีเก็บพืชสมุนไพร

  การเก็บ  " พืชสมุนไพร "  ให้ได้คุณค่าทางยามากที่สุดไม่เสียหาย  สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเห็นจะได้แก่  ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บพืชสมุนไพรเอามาเป็นยา  นี่เอง การเก็บส่วนของพืชสมุนไพรเอามาทำเป็นยานั้น ถ้าเก็บในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสมก็มีผลต่อการออกฤทธิ์ ในการรักษาโรคของยาสมุนไพรได้ 1. ประเภทรากหรือหัว สมควรเก็บในช่วงเวลาที่พืชหยุดการเจริญเติบโต  ใบ  ดอก  ร่วงหมดแล้ว หรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน  เพราเหตุว่าในช่วงนี้รากและหัวมีการสะสมปริมาณตัวยาเอาไว้ค่อนข้างสูง  วิธีการเก็บจะต้องใช้วิธีขุดด้วยความระมัดระวังให้มาก  อย่าให้รากหรือหัวเกิดการเสียหายแตกช้ำ หัก ขาด ขึ้นมาได้ 2. ประเภทใบ หรือเก็บทั้งต้น ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด หรือพืชบางอย่างอาจจะระบุช่วงเวลาเก็บอย่างชัดเจน เช่น เก็บใบไม่อ่อนหรือไม่แก่เกินไป (ใบเพสลาด) เก็บช่วงดอกตูมเริ่มบาน หรือช่วงเวลาที่ดอกบาน  เป็นต้น การกำหนดช่วงเวลาที่เก็บใบ เพราะช่วงเวลานั้น  ในใบมีตัวยามากที่สุด  วิธีการเก็บก็ใช้วิธีเด็ด  3. ประเภทเปลือกต้นและเปลือกราก เปล...

การเตรียมยาสมุนไพร

  ยาต้ม " ยาต้ม " นั้น นับว่าเป็นการเตรียมยาจากพืชสมุนไพรที่มีมาช้านานแล้วเป็นการเอาน้ำมาเป็นตัวละลายตัวยาที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร ข้อดีของ " ยาต้ม " ก็ได้แก่ ออกฤทธิ์เร็ว  ดูดซึมได้ง่าย  การเตรียมก็ทำได้ง่ายดายและสะดวกมาก แต่ก็มีข้อเสีย  ได้แก่รสชาตินั่นเอง  รวมทั้งกลิ่นของยาอีกด้วย  บางทีก็อาจจะดื่มกินได้ลำบากเพราะมีรสไม่ชวนดื่มสำหรับผู้ที่กินยายาก อีกอย่างหนึ่ง " ยาต้ม "ทั้งหลายก็เก็บเอาไว้ไม่ได้นาน  มิหนำช้ำยังขึ้นราได้ง่ายอีกด้วย หากต้องการเก็บเอาไว้นานก็จะต้องใช้สารกันบูดผสมลงไปก็ได้ วิธีการเตรียม " ยาต้ม " 1. น้ำและภาชนะที่ใช้ต้มยา น้ำที่ใช้ในการต้มยานี้จะต้องเป็นน้ำที่ใสบริสูทธิ์  ไม่มีสี  ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ปริมาณของน้ำที่ใช้ในการต้มยาจะต้องขึ้นอยู่กับปริมาณของยา  โดยปกติก็จะใส่น้ำให้พอท่วมตัวยาที่มีอยู่ ภาชนะที่ใช้ในการต้มยา นั้นควรเป็นภาชนะดินเผาหรือหม้อเคลือบก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน  ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เช่น เหล็ก เพราะจะทำให้สาร " แทนนิน " ที่มักพบในพืชสมุนไพรทำปฏิกิริยากับโลหะได้  ซึ่งจะมีผลต่อฤทธิ์ของยาได้ 2. การเ...